จากนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทยภายใต้การนำของ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ที่เข้ามาบริหารประเทศภายใต้วิสัยทัศน์ “มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน” โดยมีภารกิจสำคัญเพื่อการปฏิรูปประเทศในด้านต่าง ๆ ด้วยการสร้างความเข้มแข็งจากภายใน ควบคู่ไปกับการเชื่อมโยงกับประชาคมโลก โดยยึดหลัก “ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” ที่ขับเคลื่อนผ่านกลไกของ “ประชารัฐ” รวมถึงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 พ.ศ. 2560-2564) มีวัตถุประสงค์เพื่อให้คนไทยทุกช่วงวัยมีทักษะ ความรู้ ความสามารถ และพัฒนาตนเองได้อย่างต่อเนื่อง รวมทั้งการผลิตกำลังคนอาชีวศึกษา เพื่อสนับสนุน การขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศ ภายใต้แนวคิดที่ว่า ประเทศไทยสามารถผลักดันการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ (S-Curve) ใน 2 รูปแบบ คือ 5 อุตสาหกรรมที่มีศักยภาพ (First S-Curve) และ 5 อุตสาหกรรมอนาคต (New S-Curve) ที่ได้จัดทำตามกรอบยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2560-2579) ซึ่งเป็นแผนหลักของการพัฒนาประเทศ เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) รวมทั้งการปรับโครงสร้างประเทศไทยไปสู่ประเทศไทย 4.0 และเป็นกลไกเสริมสร้างการพัฒนาศักยภาพทุนมนุษย์ สร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจ และการแข่งขันได้
จากข้อสั่งการของนายกรัฐมนตรี ตามหนังสือสำนักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ที่ นร 0505/ว179 ลงวันที่ 11 เมษายน 2560 วันที่ 11 เมษายน 2560 ได้มอบหมายให้กระทรวงศึกษาธิการเป็นหน่วยงานหลัก ร่วมกับกระทรวงแรงงาน สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดให้มีหลักสูตรเพื่อพัฒนาบุคลากรในสาขาวิชาต่าง ๆ เพื่อรองรับอุตสาหกรรมเป้าหมายในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ ภาคตะวันออก ทั้งหลักสูตรในระบบการศึกษาปกติสำหรับนักเรียน นักศึกษา และหลักสูตรการศึกษาต่อเนื่อง สำหรับแรงงานที่ประสงค์จะพัฒนาความรู้เพิ่มเติม จากข้อสั่งการดังกล่าว พลเอกสุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการได้มอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ดำเนินการ 2 เรื่อง คือ
โดยมีผลการดำเนินงานที่ผ่านมา ดังนี้
ภายหลังจากการประชุมได้จัดตั้งศูนย์ประสานงานการผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษา เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC TVET Career Center) และศูนย์ประสานงานการผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษา จังหวัดชายแดนภาคใต้ (SEC TVET Career Center) ในเวลาต่อมา พลเอก สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ได้มอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษานำต้นแบบในการจัดตั้งศูนย์ดังกล่าว ไปจัดตั้งศูนย์ประสานงานการผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษาในอีก 4 ภูมิภาค คือ ภาคเหนือ ภาคตะวันออก เฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคใต้ ซึ่งปัจจุบันสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ได้ดำเนินการจัดตั้ง ศูนย์ประสานงานการผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษา ครบทั้ง 6 ภูมิภาค